Single Use Film Camera 

แนะนำ 7 กล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้ง รุ่นไหนดี ถ่ายรูปสวย

แนะนำ 7 กล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้ง รุ่นไหนดี ถ่ายรูปสวย

กล้องฟิล์มหนึ่งในไอเทมของคนรุ่นใหม่ที่แม้ว่าจะเป็นกล้องที่มาพร้อมนวัตกรรมและกลไกที่เก่าแก่ แต่ด้วยหน้าตาของกล้องฟิล์มที่คลาสสิกและไม่เหมือนกล้องรุ่นใหม่ ๆ อีกทั้งฟังก์ชันในการใช้งานที่ต้องอาศัยทั้งความใจเย็น การคำนวณแสงให้แม่นยำ หรือแม้แต่กระบวนการล้างฟิล์ม นี่เองที่ทำให้มีมือใหม่หัดเล่นกล้องฟิล์มมากมาย และมีกล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้งผลิตใหม่เพื่อรองรับคนที่อยากใช้ฟิล์มหลากหลายรุ่นในปัจจุบัน

กล้องฟิล์ม คืออะไร ?

Single Use Film Camera 
Single Use Film Camera 

สำหรับคนที่อยากเริ่มต้นเล่นกล้องฟิล์มอาจสงสัยว่ากล้องฟิล์ม คืออะไร ? และกล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้งแตกต่างอย่างไร ? บทความนี้จะพาไปไขคำตอบเรื่องกล้องฟิล์มกัน

กล้องฟิล์ม คือ กล้องถ่ายรูปที่ต้องใช้ม้วนฟิล์มในการเก็บบันทึกภาพ โดยผ่านกระบวนการของการเปิดกระจกสะท้อนภาพเพื่อให้แสงเข้าสู่แผ่นฟิล์มในกล้อง เพื่อแสงเข้ากระทบแผ่นฟิล์มในระยะที่มากเพียงพอภาพก็จะถูกบันทึกเอาไว้ในม้วนฟิล์มนั้น สำหรับกล้องฟิล์มนั้นมีมากมายหลายรูปแบบทั้ง กล้องฟิล์ม Compact, กล้องฟิล์มแบบ SLR, กล้องฟิล์ม Rangefinder และกล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้ง 

กล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้ง ใช้ยังไง?

film camera
film camera

สำหรับมือใหม่หัดเล่นกล้องฟิล์มเชื่อว่าคงต้องเคยค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ กล้องฟิล์ม ยี่ห้อไหนดี ดูรีวิวกล้องฟิล์ม จากเว็บไซต์ต่าง ๆ มาบ้างแล้วอย่างแน่นอน และมีจำนวนไม่น้อยที่สนใจเลือกกล้องตัวแรกเป็นกล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้ง เพราะมีราคาไม่แพง และการใช้งานง่ายที่สุด

กล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้งจะมาพร้อมกับม้วนฟิล์มในตัวกล้องให้เรียบร้อยแล้ว ผู้ใช้มีหน้าที่เพียงแค่ยกกล้อง เล็ง และกดถ่ายเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจำนวนรูปที่ได้จะอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคือ 27 รูป เมื่อถ่ายหมดม้วนแล้วสามารถแกะม้วนฟิล์มออกมาส่งให้ร้านล้างได้ทันที หรือจะส่งทั้งตัวกล้องให้ร้านล้างฟิล์มได้เช่นกัน

ข้อดีและข้อเสียของกล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้ง

  • สำหรับมือใหม่คือใช้งานง่าย พกพาง่าย และมีโอกาสที่จะได้ภาพสูงมาก
  • เหมาะกับคนที่เพิ่งเริ่มถ่ายฟิล์มเป็นครั้งแรก
  • ด้วยความที่เป็นกล้องแบบใช้แล้วทิ้งก็อาจจะมีจุดที่ขัดใจผู้ใช้อยู่บ้าง เช่น ISO ที่กำหนดมาจากฟิล์มตั้งแต่ต้น ไม่สามารถเปลี่ยนฟิล์มใหม่ได้ในอนาคต
  • ไม่สามารถปรับระยะชัดลึก ชัดตื้น ตามที่ต้องการได้
  • กล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้ง ประเภทนี้เน้นถ่ายเพื่อความสนุกมากกว่า หากต้องการฝึกการตั้งค่าต่าง อาจยังไม่ตอบโจทย์เท่าไหร่ 

ทำไมถึงเรียกว่า กล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้ง?

หนึ่งในเหตุผลของกล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้งก็คือกล้องมาพร้อมกับม้วนฟิล์ม และกลไกการใช้งานที่ออกแบบมาให้ใช้งานเพียงครั้งเดียว เพราะในการแกะฟิล์มออกล้างจะทำให้ตัวกล้องไม่สามารถใช้งานได้อีก นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าเป็นกล้องแบบใช้แล้วทิ้งนั่นเอง

แต่ในปัจจุบันมีกล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้งแนะนำสำหรับมือใหม่บางรุ่นที่เมื่อนำม้วนฟิล์มออกล้างแล้วยังสามารถใส่ฟิล์มใหม่ใช้ถ่ายครั้งต่อไปได้อีก 2-3 ครั้ง ซึ่งก็ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อกล้องใหม่ได้พอสมควร

เปรียบเทียบกล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้งทั้ง 7 รุ่น 

เพื่อให้ง่ายต่อการเลือกซื้อกล้องฟิล์มสำหรับมือใหม่ เราได้สรุปความน่าสนใจของกล้องแต่ละรุ่นเอาไว้ให้แล้ว โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 

รุ่นยี่ห้อจำนวนภาพISOฟิล์มแฟลชน้ำหนักราคา
Kodak Daylight39800สีไม่มี80 กรัม420 บาท
Fujifilm QuickSnap27400สีมี100 กรัม865 บาท
Kodak FunSaver27800สีมี350 กรัม890 บาท
Agfa Photo Lebox27400สีมี100 กรัม750 บาท
Loft Ninm Lab 27400สีมี108 กรัม890 บาท
Ilford Single Use27400ขาวดำมี100 กรัม650 บาท
Lomography Simple Use36400สีมี138 กรัม980 บาท

เรียกได้ว่าทั้ง 7 รุ่นนี้ก็มีความแตกต่างกันในหลายด้านเลยทีเดียว สำหรับคนที่อยากได้ความแปลกใหม่และฝึกประสบการณ์กล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้งแนะนำให้เลือก Ilford Single Use เพราะเป็นฟิล์มขาวดำล้วน หรือจะไปทาง Lomography เองที่แม้ว่ากล้องฟิล์มรุ่นที่แนะนำจะเป็นฟิล์มสี แต่ก็ให้โทนที่จัดจ้าน มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและยังมีแฟลชพร้อมแถบสีให้เพิ่มลูกเล่นเพื่อถ่ายได้สนุกมากขึ้นด้วย 

ส่วนคนที่อยากได้ความคุ้มค่าในการถ่ายกล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้งต้อง Kodak Daylight และ Lomography เท่านั้น เพราะโกดักมาพร้อมรูปที่ได้ทั้งหมด 39 รูป ขณะที่โลโมนั้นให้รูปถึง 36 รูป แถมยังเปลี่ยนฟิล์มใหม่ถ่ายได้อีกยิ่งถ้าเก็บรักษาได้ดีก็ยังเปลี่ยนฟิล์มใหม่ถ่ายได้เรื่อย ๆ แต่สำหรับคนที่อยากได้เรื่องราคาถูกที่สุดก็ต้องยกให้เป็น Kodak Daylight ที่ช่วงราคาโดยประมาณอยู่ที่ 420 บาทเท่านั้น แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการถ่ายที่ยืดหยุ่นน้อยที่สุดเพราะไม่มีแฟลชในตัวให้มาด้วย 

แนะนำ 7 รุ่น กล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้งสำหรับมือใหม่แค่ ยก เล็ง กด ถ่าย ก็ได้รูป

มือใหม่ที่มีไฟอยากเริ่มต้นกับกล้องฟิล์มแบบใช้แล้วทิ้งแต่ไม่รู้ว่าจะเลือกรุ่นไหนดี วันนี้เรามี 7 รุ่นกล้องฟิล์มแบบใช้แล้วทิ้งที่ตอบโจทย์การใช้งานสำหรับมือใหม่ ถ่ายได้รูปแน่นอนมาแนะนำ 

1. Kodak Single Use Camera ISO800 Daylight 27+12 

Kodak Single Use Camera
Kodak Single Use Camera

กล้องฟิล์ม Kodak แบบใช้แล้วทิ้งที่มาพร้อมกับฟิล์มความไวแสงสูงที่ ISO800 ทำให้สามารถถ่ายในช่วงเวลากลางคืน หรือมีแสงน้อยได้ค่อนข้างดี แต่กล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้งรุ่นนี้ไม่มีแฟลชมาให้ จึงต้องอยูในพื้นที่ที่พอมีระดับแสงผ่านเข้ากล้องอยู่บ้าง หรือเน้นการถ่ายในที่กลางแจ้งจะให้ภาพคมชัดได้สีสันครบถ้วน กล้องฟิล์มรุ่นนี้ยังมาพร้อมกับจำนวนภาพที่เพิ่มขึ้นเพราะสามารถถ่ายได้สูงสุดถึง 39 ภาพ และฟิล์มที่ใช้เป็นฟิล์มสี 135 สำหรับตัวบอดี้ใช้วัสดุเป็นพลาสติก ควรหลีกเลี่ยงการเก็บในที่ชื้นหรือที่มีอากาศร้อนจัด

รีวิวจากผู้ใช้งานจริง : เป็นกล้องที่เหมาะสำหรับใช้งาน Outdoor เท่านั้นเพราะไม่มีแฟลชให้ใช้งาน ไม่ควรถ่ายในที่แสงน้อย ในร่ม ภายในอาคาร

2. Fujifilm QuickSnap Flash

Fujifilm QuickSnap Flash
Fujifilm QuickSnap Flash

กล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้งยี่ห้อ Fujifilm สุดคลาสสิกที่รุ่นนี้มาพร้อมกับเลนส์มุมกว้างสามารถโฟกัสได้ใกล้สุดที่ระยะ 1 เมตร และมาพร้อมรูรับแสงที่ f/10 ทำให้เก็บรายละเอียดของภาพได้ครบถ้วน นอกจากนี้ยังเป็นกล้องใช้แล้วทิ้งที่ใส่ฟิล์มสี 135 รุ่นดังของค่ายฟูจิอย่าง Fuji X-Tra 400 ที่ให้โทนภาพติดเขียวเล็กน้อยตามสไตล์ฟิล์มญี่ปุ่น โดยน้ำหนักกล้องอยู่ที่ 100 กรัม กับขนาดเล็กพกพาได้สะดวก ถ่ายได้ทั้งหมด 27 ภาพ

รีวิวจากผู้ใช้งานจริง : กล้อง Fujifilm QuickSnap รุ่นนี้ ข้อดีคือมาพร้อมแฟลชในตัว ทำให้ถ่ายในที่มืดหรือที่แสงน้อยก็ได้รูปสวยตลอด

3. Kodak FunSaver ISO 800

Kodak FunSaver ISO 800
Kodak FunSaver ISO 800

อีกหนึ่งรุ่นกล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้งสำหรับมือใหม่จาก Kodak รุ่นนี้เป็นรุ่นที่มีการแก้ไขข้อเสียจากรุ่น Daylight 27+12 มาเป็นที่เรียบร้อยด้วยแฟลชในตัวทำให้ถ่ายภาพได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ทั้งมีมากและแสงน้อย ข้อดีอีกอย่างคือฟิล์มที่ใส่มาเป็น ISO 800 เหมาะที่จะถ่ายได้ทุกสภาพแสง โดยกล้องรุ่นนี้ใช้ฟิล์มสี 135 ถ่ายได้จำนวน 27 รูป โดยระยะถ่ายใกล้ที่สุดอยู่ที่ 1 เมตร และมีน้ำหนักเบา 350 กรัม ทำให้พกใส่กระเป๋าไปได้ทุกที่

รีวิวจากผู้ใช้งานจริง : กล้องมีขนาดเล็ก พกพาได้ง่าย ถ่ายออกมาแล้วโทนสีภาพจะออกไปทางอมเหลืองตามสไตล์ฟิล์มโกดัก

4. Agfa Photo Lebox 400/27 Flash 

Agfa Photo Lebox Flash
Agfa Photo Lebox

กล้องฟิล์มแนะนำสำหรับมือใหม่รุ่นนี้เป็นแบรนด์ฟิล์ม Agfa จากประเทศเยอรมนี ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของโทนสีที่ได้ ทำให้ได้สไตล์ที่แตกต่างจากทั้ง Fuijfilm และ Kodak กล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้งรุ่นนี้มาพร้อมฟิล์มสีขนาด 135 ที่มีความไวแสงอยู่ที่ ISO 400 ถ่ายได้ทั้งหมด 27 ภาพ และมีขนาดเล็กกะทัดรัด ด้วยน้ำหนักเพียง 100 กรัม พกพาได้ง่าย

รีวิวจากผู้ใช้งานจริง : กล้องรุ่นนี้มีแฟลชติดกล้องมาให้ด้วย หยิบมาถ่ายได้ทุกช่วงเวลา ทุกสภาพแสง ทั้งเวลากลางวัน และกลางคืน ถ่ายตอนไหนก็สวย

5. Loft Ninm Lab I’m Fine

Loft Ninm Lab Single Use Camera
Loft Ninm Lab I’m Fine Single Use Camera Regular Edition AURA

กล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้งจาก Ninm Lab ในประเทศฮ่องกงเป็นกล้องฟิล์มที่มีข้อดีในเรื่องของโทนสีที่แตกต่างเพราะออกไปทางสีที่ไม่จัดจ้าน สำหรับฟิล์มที่ใช้เป็นฟิล์มสี 135 ที่มีความไวแสง ISO 400 และยังรองรับการถ่ายได้ทุกสภาพแสงด้วยระบบแฟลชแบบ Built-in โดยการใช้แฟลชสามารถโฟกัสในระยะใกล้สุดที่ 1 เมตร กล้องฟิล์มรุ่นนี้สามารถถ่ายได้ทั้งหมด 27 รูป และอีกหนึ่งความพิเศษคือตัวบอดี้กล้องมีให้เลือก 2 สี คือสีขาว และสีดำ

รีวิวจากผู้ใช้งานจริง : ถ่ายรูปออกมาแล้วรูปติดฟ้าเล็กน้อย ให้โทนสีที่ให้ความสุขุมได้ดีทีเดียว

6. Ilford Single Use Film Camera

ILFORD Single Use Film Camera
ILFORD Single Use Film Camera

กล้องฟิล์มจาก Ilford ค่ายผู้ผลิตฟิล์มขาวดำ ที่แน่นอนว่ากล้องรุ่นนี้บรรจุฟิล์มขาวดำมาให้เป็นที่เรียบร้อย โดยสามารถถ่ายได้ทั้งหมด 27 รูป และมีแฟลชในตัวสามารถถ่ายได้ทุกสภาพแสง โดยแฟลชจะเก็บภาพได้ไกลสุดที่ระยะ 3 เมตร กล้องฟิล์มรุ่นนี้ยังมีเลนส์ระยะ 30 mm. ที่ถ่ายได้ใกล้สุดที่ 1 เมตร พกพาสะดวก ด้วยขนาดเล็ก น้ำหนัก 100 กรัม และมีสองตัวเลือกที่แตกต่างกันตรงฟิล์มที่ใช้คือ HP5 และ XP2 ราคาโดยประมาณ 650 บาท

รีวิวจากผู้ใช้งานจริง : แนะนำกล้องฟิล์มสำหรับมือใหม่ที่อยากได้กล้องใช้แล้วทิ้ง อยากท้าทายความสามารถในการจัดองค์ประกอบแสงเงาแนะนำรุ่นนี้เลย 

7. Lomography Simple Use

Lomography Simple Use
Lomography Simple Use

กล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้งจากค่ายฟิล์มสุด Unique ที่ผลิตกล้องแบบใช้แล้วทิ้งที่ยูนีคไม่แพ้กัน สำหรับกล้องรุ่นนี้จะมาพร้อมการออกแบบที่มีความย้อนยุคและใช้ฟิล์มขนาด 135 ที่มีทั้งสีสดตามแบบฉบับของฟิล์ม Lomo ฟิล์มขาวดำ และฟิล์มรุ่น LomoChrome Purple ที่ออกโทนม่วงแปลกตา โดยช่วงเลนส์อยู่ที่ 31 mm. ขนาดเล็กกะทัดรัดพกพาได้สะดวกน้ำหนักเบา มีแฟลชให้ในตัวรองรับต่อการถ่ายภาพได้ทุกสภาพแสง และเป็นฟิล์มไวแสง ISO 400 แม้ว่าจะผลิตมาบนรูปลักษณ์ของกล้องฟิล์มแบบใช้แล้วทิ้ง แต่กล้องรุ่นนี้ยังมีคุณสมบัติที่สามารถใช้งานต่อได้แค่เปลี่ยนม้วนฟิล์มเท่านั้น

รีวิวจากผู้ใช้งานจริง : ถ่ายรูปวิวแล้วภาพออกมาบรรยากาศเหมือนอยู่ในยุค 80s และชอบตรงที่สามารถใส่ฟิล์มซ้ำได้เรื่อยๆ ประหยัดได้เยอะเลย

สรุปกล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้งสำหรับมือใหม่

จากข้อมูลทั้งหมดนี้เชื่อว่าคนที่เป็นมือใหม่อยากเริ่มต้นเล่นกล้องฟิล์มตัวแรก คงจะตัดสินใจกันได้แล้วว่า กล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้งรุ่นไหนดี แต่ถึงแม้ว่าจะเลือกรุ่นไหนก็ตาม สิ่งสำคัญของการถ่ายฟิล์มต้องไม่ลืมว่ายิ่งมีแสงมากยิ่งมีโอกาสได้ภาพคมชัดมาก รวมทั้งการให้ความสำคัญกับการจัดองค์ประกอบภาพร่วมด้วย เพียงเท่านี้แม้ว่าจะเป็นมือใหม่หัดใช้กล้องฟิล์ม หรือจะเลือกกล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้งรุ่นไหนก็สามารถถ่ายภาพออกมาได้สวยตรงกับความต้องการได้อย่างแน่นอน 

one2fives เป็นเว็บไซต์ศูนย์ รวมจัดอันดับ ที่รวบรวมข้อมูลทุกเรื่องมาไว้เพื่อคุณ

FIVE IS REAL เว็บไซต์คุณภาพที่จะรวบรวมเทรนด์ฮิตติดชาร์จทุกเรื่องราวที่กำลังเป็นกระแสมาให้คุณได้ติดตาม

Share To :

Facebook
Twitter
Pinterest
Email

Related Posts

10 Famous Writers Who Came Up with Everyday Words

10 นักเขียนชื่อดังผู้สร้างสรรค์คำยอดฮิตในชีวิตประจำวัน, โดยสร้างแรงบันดาลใจและเปลี่ยนวิธีการใช้ภาษาในสังคม

พบกับ 10 นักเขียนชื่อดังที่สร้างสรรค์คำที่เราคุ้นเคยในชีวิตประจำวัน เรียนรู้เบื้องหลังและแรงบันดาลใจในการประดิษฐ์คำเหล่านี้

10 Unconventional Ways Famous Actors Got into Character

10 วิธีแปลกใหม่ที่นักแสดงชื่อดังใช้ในการเข้าถึงบทบาท เตรียมพบกับวิธีการที่น่าทึ่งและสร้างแรงบันดาลใจ

ค้นพบ 10 วิธีสุดแปลกที่นักแสดงชื่อดังใช้เพื่อเข้าถึงบทบาทของพวกเขา ถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกได้อย่างลึกซึ้งและน่าทึ่ง

10 Ingenious Tech Experiments That Think Outside the Box

10 สุดยอดเทคโนโลยีสร้างสรรค์ที่คิดนอกกรอบ เติมเต็มความรู้และแรงบันดาลใจให้คุณ!

ค้นพบ 10 การทดลองเทคโนโลยีอันชาญฉลาดที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งหลุดกรอบความคิดแบบเดิมๆ พร้อมเปิดโลกแห่งนวัตกรรมใหม่ที่คุณคาดไม่ถึง